การสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy ประจำปี พ.ศ. 2566

///การสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy ประจำปี พ.ศ. 2566

การสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy ประจำปี พ.ศ. 2566

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร โดยนางทองใบ  บุญกลิ่น นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งน้อย ประธานที่ประชุม ได้มอบนโยบายไม่รับของขวัญ (No Gift Policy) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  โดยมีคณะผู้บริหาร พนักงาน เจ้าหน้าที่ และบุคลากรในสังกัดเทศบาลตำบลทุ่งน้อย จำนวน 40 คน เข้าร่วมกิจกรรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรและค่านิยมสุจริตในการปฏิบัติงานอย่างมีคุณธรรม จริยธรรมและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ดังนี้

  1. ผู้บริหาร พนักงาน เจ้าหน้าที่ และบุคลากรในสังกัดเทศบาลตำบลทุ่งน้อย ทุกระดับไม่รับไม่ให้ของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
  2. ผู้บริหาร พนักงาน เจ้าหน้าที่ และบุคลากรในสังกัดเทศบาลตำบลทุ่งน้อย ทุกระดับจะต้องไม่แสวงหาเพื่อให้ได้มาซึ่งของขวัญ ของกำนัล และผลประโยชน์ที่มิชอบด้วยกฎหมาย
  3. การแสดงความยินดี การแสดงความปรารถนาดี การแสดงการต้อนรับ หรือการแสดงความเสียใจ ในโอกาสต่าง ๆ ตามปกติประเพณีนิยม ควรใช้วิธีการแสดงออกด้วยการลงนามในบัตรอวยพร สมุดอวยพร หรือการใช้สื่อออนไลน์ แทนการให้สิ่งของเพื่อเป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นไปในแนวทางประหยัด

และการรับทราบแนวทาง Do & Don’t พฤติกรรมทางจริยธรรมของข้าราชการ

ข้อควรทำ ( Do )

  1. แสดงออกถึงความภูมิใจในชาติ และรักษาผลประโยชน์ของชาติ และเชื่อมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  2. ตระหนักในบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบและปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใสพร้อมรับการตรวจสอบ
  3. ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักความถูกต้อง ตามหลักกฎหมาย หลักวิชาการ แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และกล้าแสดงความคิดเห็นทักท้วงเมื่อพบว่ามีการกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
  4. ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดถือประโยชน์ของประชาชน หรือ ประเทศชาติเป็นหลัก
  5. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ เชื่อมั่นในระบบการทำงานเป็นทีม ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
  6. ปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงความเป็นธรรม และไม่อาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการให้คุณให้โทษแก่นักการเมือง และพรรคการเมือง
  7. ไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำความเสื่อมเสียและไม่ไว้วางใจให้เกิดแก่หน่วยงาน และตระหนักอยู่เสมอว่าตนเองต้องดำรงตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี

ข้อไม่ควรทำ ( Don’t )

  1. ไม่แสดงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่าเป็นการต่อต้านการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  2. ไม่ปฏิบัติหน้าที่ หรือปล่อยปละละเลยโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่องานต่อหน่วยงาน ต่อรัฐบาลต่อประชาชน หรือต่อประเทศ
  3. ไม่ประพฤติปฏิบัติตนตามความพึงพอใจส่วนตัวหรือ ปล่อยปละละเลยหรือเพิกเฉยเมื่อพบเห็นว่ามีการกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นธรรม
  4. ไม่ปฏิบัติงานโดยมุ่งให้เกิดประโยชน์ของตัวเองมากกว่าคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม
  5. ไม่ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดความพึงพอใจส่วนตัว จนไม่คำนึงถึงผลสำเร็จของงาน หรือ ปล่อยปละละเลยหรือเพิกเฉยให้มีการกระทำดังกล่าว
  6. ไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม จากอคติหรืออาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการให้คุณให้โทษแก่นักการเมือง และพรรคการเมือง หรือปล่อยปละละเลยให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้
  7. ไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียและไม่ไว้วางใจให้เกิดแก่หน่วยงาน และไม่กระทำตนที่เป็นแบบอย่างที่ไม่ดี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แสดงความคิดเห็น
By | 2023-03-23T14:54:01+07:00 มีนาคม 20th, 2566|Categories: 12.2 การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร|0 Comments

About the Author: