การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อพัฒนา

//การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อพัฒนา
การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อพัฒนา 2018-03-04T14:33:14+07:00

การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนา

การวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          – ผลการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบันและอนาคต  ด้วยเทคนิค SWOT Analysis (จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค)

จุดแข็ง

1. เป็นองค์กรที่ก่อตั้งมาจากท้องถิ่นโดยตรง คณะผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนการบริหารงานเป็นไปตามหลักประชาสังคม มีการกำหนดนโยบายการพัฒนาตามความต้องการของประชาชน จึงทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล อย่างสูงสุด ทำให้เข้าใจสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่อย่างชัดเจน ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่น เล็งเห็นความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายภาครัฐ และเทศบาลมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะในการบริหารงาน การปฏิบัติหน้าที่โดยดำเนินงานตามข้อกฎหมาย ข้อระเบียบ ข้อบังคับ และยึดปฏิบัติอย่างชัดเจน
2. ชุมชน/หมู่บ้าน เทศบาลฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจ เข้าถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ สามารถจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและระบุความต้องการที่แท้จริงของประชาชน เพื่อไปสู่การพัฒนาอย่างตรงจุดและทันต่อเหตุการณ์
3. ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย มีการดำเนินชีวิตเรียบง่าย รักสงบ และมีอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม และส่วนมากจะยึดหลักปรัชญาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการพึ่งตนเอง
4. เทศบาลฯ มีการดำเนินการตามนโยบายที่เร่งด่วน เพื่อสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์
5. เทศบาลฯ ให้ความร่วมมือและสนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติงานราชการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จึงมีผลต่อการพัฒนาด้านต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล
6. สภาพพื้นที่มีความสะดวก ง่ายต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม
7. ประชาชนในเขตเทศบาลฯ มีศูนย์รวมทางด้านจิตใจ อย่างชัดเจน คือ วัดทุ่งน้อย ซึ่งมีท่านเจ้าอาวาส พระครูพิพัฒน์ธรรมโกศล เป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจ
8. โครงสร้างขององค์กรมีความชัดเจนและมีขั้นตอนการปฏิบัติงาน มีการแบ่งมอบหมายงานภาระหน้าที่ความรับผิดชอบตามระเบียบ กฎหมาย อย่างถูกต้อง รัดกุม
9. การพัฒนาและการจัดกิจกรรม ของเทศบาลตำบลทุ่งน้อย เน้นประชาชนในพื้นที่เป็นศูนย์กลางในการพัฒนา เน้นประชาชนมีส่วนร่วมในทุกๆ กิจกรรม และยึดหลักธรรมาภิบาลในการพัฒนาเป็นสำคัญ
10. การบริหารจัดการน้ำและมีระบบชลประทานที่ดี ทำให้ภาคการเกษตรมีผลผลิตที่น่าพึงพอใจ

จุดอ่อน

1. จำนวนบุคลากรและงบประมาณ เครื่องมือ เครื่องใช้ มีน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณงาน ภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบ
2. ขาดระบบการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานที่แท้จริง ทันต่อสถานการณ์ และตัวชี้วัดที่มีคุณภาพ  เพื่อสนับสนุนการวางแผนการพัฒนาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ขั้นตอนในการดำเนินงานยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร การประสานงานระหว่างหน่วยงาน และนอกเทศบาลฯ ยังไม่ดีเท่าที่ควร ประชาชนบางส่วนไม่เห็นความสำคัญในการมีส่วนร่วม การประชาสังคม

โอกาส

1. ผู้นำหมู่บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น ให้ความสนใจและสนับสนุนการดำเนินงานด้านต่างๆ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทุกครั้ง
2. พื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย มีลักษณะเป็นพื้นที่ที่สามารถติดต่อง่าย สะดวก รวดเร็วไม่มีอุปสรรคในการเข้าถึงหรือการพัฒนา
3. การกระจายอำนาจทำให้ท้องถิ่นพึ่งตัวเองได้ สามารถดำเนินงานตามสภาพปัญหาที่แท้จริงของท้องถิ่น มีการรวมกลุ่มกันของท้องถิ่น ทราบสภาพปัญหาของท้องถิ่นอย่างแท้จริง โดยรัฐธรรมนูญให้การรับรองสิทธิภาคประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน

อุปสรรค

1. ข้อระเบียบ ข้อกฎหมายและภารกิจบางอย่างไม่เอื้ออำนวย ขาดความชัดเจน มีการซ้ำซ้อนกันของอำนาจ หน้าที่ในแต่ละหน่วยงาน การประสานงานระหว่างหน่วยงานขาดประสิทธิภาพ
2. ขาดกลไกหรือเครื่องมือในระดับนโยบายและปฏิบัติ ในการบริหารแผนหรือนโยบายที่ กำหนดไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน
3. การจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลไม่เป็นไปตามประมาณการรายรับของเทศบาล ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม ส่งผลให้การพัฒนาไม่เป็นไป ตามวัตถุประสงค์ และสภาพทางเศรษฐกิจในระดับประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจระดับท้องถิ่นไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนด